วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

คณะครุศาสตร์ เกิดจากการแบ่งส่วนราชการ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ก่อตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2545  ขณะนั้นยังคงเป็นสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ มีโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการเป็น 2 คณะ คือ คณะวิทยาการวิชาชีพ และคณะวิทยาการศึกษาทั่วไป ต่อมาเมื่อสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ ได้รับการยกฐานะ เป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ” ในวันที่   12 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 คณะวิชาทั้งสองจึงถูกปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่เป็น “คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์” โดยแบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ออกเป็น 1 สำนัก 4 ภาควิชา คือ สำนักงานคณบดี ภาควิชาครุศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ

ในปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  มีนักศึกษาทั้งหมด 2,382 คน เป็นนักศึกษาสายครู 355 คน นักศึกษาโครงการพัฒนาครูและผู้บริหารประจำการ อีกจำนวน 308 คน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนภายใต้คณะเดียว คือคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในขณะที่มหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งจำนวนนักศึกษา อาคารสถานที่ สาขาวิชา และความคาดหวังทางสังคม โดยเฉพาะทางสายครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แตกต่างจากเดิมซึ่งการเลือกเรียนสายครูจะมาเป็นอันดับสุดท้าย แต่ในปัจจุบันการเลือกเรียนสายครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นักศึกษาให้ความสนใจมาเป็นอันดับแรก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่ผ่านมา  จนต้องมีการคัดเกรดในการที่จะสอบคัดเลือกเข้าเรียน รวมทั้งการเพิ่มจำนวนสาขาให้ตรงตามความสนใจของผู้เรียนและความต้องการของสังคมท้องถิ่น 

ปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2566 ฉบับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 140 ตอนที่ 68 ก หน้า 3 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 มีชื่อว่า “คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์”

มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู โดยมีภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ดังนี้

      1) แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล

      2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ

      3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

      4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

      5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

      6) ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัยชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

      7) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นรวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

      8) ศึกษา วิจัย ส่งเสริม และสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

      โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์บนพื้นฐานภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งองค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่นมีการดำเนินการตามภารกิจได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

วิสัยทัศน์คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครู วิจัย สร้างองค์ความรู้ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นวัตกรรม นำพาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ

      1. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

      2. การผลิตบัณฑิตและพัฒนาครูให้มีสมรรถนะและคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

      3. ยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

      4. การพัฒนาท้องถิ่นและสังคมสู่ความยั่งยืน

      5. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

      6. พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ

      เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งมี 6 เป้าประสงค์ และ 15 กลยุทธ์การดำเนินงาน และเป็นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูดังวิสัยทัศน์ที่ตั้งเป้าหมายไว้

  • อำนาจและหน้าที่ของ คณบดี ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 36 ในคณะหรือวิทยาลัย ให้มีคณบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงาน และจะให้มีรองคณบดีตามจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่คณบดีมอบหมายก็ได
  • มาตรา 38 คณบดีมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้แต้จะดํารงตําแหน้งเกินสองวาระตืดต้อกันมิได้และให้นําความใน มาตรา 30 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับแกการพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระของคณบดีโดยอนุโลม
    เมื่อคณบดีพนจากตำแหน่ง ให้รองคณบดีพนจากตำแหน่งด้วย